วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุป

บทที่4
ประมวลทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นสากลและการประยุกต์สู่การสอน
ทฤษฎีคืออะไร
            ทฤษฎีเกิดขึ้นได้เพราะคนสนใจในปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัวและขณะที่สังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านั้น ก็เกิดความคิดเบื้องต้น (assumption) เกี่ยวกับปรากฏการณ์นั้นขึ้น ความคิดเบื้องต้นนี้ เกิดขึ้นจากการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ประกอบกับความคิดอุปนัย (induction) และความคิดนิรนัย (deduction) ของคนขณะที่สังเกตปรากฏการณ์เหล่านั้น เมื่อคนเกิดความคิดเบื้องต้นขึ้นมาแล้ว ความคิดนั้นอาจจะได้รับการยอมรับก็ได้หรือไม่ได้รับการยอมรับก็ได้ ความคิดมักจำได้รับการยอมรับ ถ้ามีหลักฐานหรือสามารถพิสูจน์ทดสอบให้เห็นจริงได้ ดังนั้น เมื่อเกิดความคิดเบื้องต้นขึ้นมาแล้ว คิดค้นจึงจำเป็นต้องไปหาหลักฐานที่จะสามารถนำมาเป็นเครื่องยืนยันความคิดนั้น ความคิดต่างๆ ที่มีหลักฐานยืนยันพอสมควรและสามมารถนำไปพิสูจน์ทดสอบได้นี้เรียกกันว่าเป็นสมมติฐาน (hypothesis)
เมื่อมีการสมมติฐานพร้อมที่จะนำไปทดสอบได้แล้ว ผู้ค้นคิดทฤษฎีจะพยายามทดสอบด้วยวิธีการต่างๆ ความคิดใดที่สามารถนำไปพิสูจน์ได้มาก และเห็นผลชัดเจนจะจัดเป็นทฤษฎีในระดับสูง ความคิดใดที่ได้รับการทดสอบ พิสูจน์ให้เห็นจริงหรือให้เห็นผลชัดเจนไม่ได้หรือได้ยาก ก็จะจัดเป็นทฤษฎีต่ำลงมา
ทฤษฎีที่ตั้งขึ้นนี้ จะถือว่าเป็นทฤษฎีได้จะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย 3 ประการดังนี้
1.จะต้องสามารถอธิบายความจริงหลักของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้
2.จะต้องสามารถนิรนัยความจริงหลักออกมาเป็นกฎหรือความจริงอื่นๆ ได้
3.จะต้องสามารถทำนายปรากฏการณ์นั้นได้ ดังนั้นในกรณีที่เราเกิดความสงสัยว่า ข้อความหรือทฤษฎีที่เราพบมีลักษณะเป็นทฤษฎีหรือไม่นั้น ก็สามารถตรวจสอบหรือเทียบกับคุณสมบัติทั้ง 3 ข้อดังกล่าว หากข้อความนั้น สามารถตอบคำถามทั้ง 3 ข้อได้ว่าข้อความนั้นเป็นทฤษฎี
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีผู้ที่มีความเห็นตรงกันเป็นจำนวนมากกว่า ทฤษฎีการศึกษาแท้จริงก็คืออีกรูปแบบหนึ่งของปรัชญาทางการศึกษา แต่ก็มีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่าปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการศึกษามีความแตกต่างกันหรือมีเส้นแบ่งเขตที่ชัดเจนดังได้กล่าว
ปรัชญาการศึกษาจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของปรัชญาแม่บทอันหนึ่งอันใดถ้าไม่ได้แตกออกจากหน่อแม่บทใดๆ แล้ว จะเป็นเพียงหลักการหรือทฤษฎีการศึกษา
                                                                                                      (สาโรช บัวศรี, 2525: 62)
แม้ว่าความคิดเห็นของคนทั้ง 2 กลุ่มจะดูเหมือนขัดแย้งกัน แต่เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้ว จะพบว่า มิได้ขัดกัน เพราะถึงแม้ว่า ทฤษฎีการศึกษา จะใช่หรือไม่ใช่ปรัชญาการศึกษา แต่บุคคลทั้ง 2 กลุ่มก็เห็นพ้องกันว่าเป็นหลักทางการศึกษาที่เกิดมาจากวิธีการเดียวกันก็คือการผ่านการพิสูจน์ทดสอบด้วยวิธีการหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ประมวลทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นสากลและการประยุกต์การสอน
แนวความคิดในเรื่องของการเรียนรู้ของมนุษย์ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักปรัชญาและนักจิตวิทยามาแต่ในอดีต การศึกษาแนวคิดในอดีต นอกจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของการจัดการศึกษาและเกิดแนวความคิดใหม่ๆ แล้ว ยังเป็นการทบทวนภูมิปัญญานักคิดในอดีตซึ่งอาจจะตกหล่นสูญหายหรือเสื่อมความนิยมไปด้วยกาลและสมัย แต่อาจยังทรงคุณค่ามหาศาลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์
เพื่อให้ผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องการจัดการศึกษาสามารถศึกหลักการเรียนรู้และการสอนในอดีตมาจนถึงปัจจุบันได้โดยสะดวกผู้เรียนจึงประมวลหลักการ-ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวมาเสนอไว้ในที่นี้
1. การศึกษาค้นคว้าในรายละเอียด
2. การวิเคราะห์เพื่อแยกแยะประเด็น
3. การกลั่นกรองเพื่อให้ได้แก่น หรือสาระสำคัญของเรื่อง
4. การอภิปรายเพื่อประยุกต์หลักทฤษฎีการเรียนรู้สู่หลักการสอน
5. การปรับและเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
6. การเรียนเรียงให้ง่ายต่อการอ่านและการเข้าใจ
ทฤษฎีการเรียนรู้ เป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถใช้อธิบายลักษณะของการเกิดการเรียนรู้ หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ ทฤษฎีที่นำเสนอในบทนี้ เป็นทฤษฎีของนักคิด นักจิตวิทยา และนักการศึกษาต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปส่วนหลักการสอนที่นำเสนอ บางส่วนเป็นข้อเสนอของทฤษฎีโดยตรง บางส่วนเป็นการประยุกต์จากทฤษฎี โดยผู้เขียนและคณะนิสิตหลักสูตรครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมักจะเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ไม่ได้นำเสนอไว้
                แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์
                 แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์
                   ทฤษฎีการเรียนรู้ เริ่มต้นจากการมองธรรมชาติของมนุษย์ใน 2 ลักษณะ คือ ด้านจริยธรรมและด้านพฤติกรรมหรือการกระทำ (Bigge, : 10-16)
               
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์
นักคิดมีความเชื่อแตกต่างกันเป็น 3 แนว เช่นเดียวกันดังนี้
แนวที่  1  เชื่อว่าพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ เกิดขึ้นจาก แรงกระตุ้นภายในตัวเอง
(active)
แนวที่ 2 เชื่อว่าพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ เกิดขึ้นจาก อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม มิใช่มาจากแรงกระตุ้นภายใน (passive or reactive)
                แนวที่  3  เชื่อว่าพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ เกิดขึ้นทั้งจากสิ่งแวดล้อมและแรงกระตุ้นภายในตัวบุคคล (interactive)
                ในปัจจุบันนี้มีทฤษฎีที่ได้รับความนิยมอีกหลายทฤษฎี เช่นทฤษฎีพหุปัญญา ทฤษฎีการสร้างความรู้ และทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นต้น แต่เนื่องจากเนื้อหาสาระของทฤษฎีใน 2 หัวข้อใหญ่ข้างต้น มีจำนวนมาก ผู้เขียนจึงจะขอนำเสนอทฤษฎีการเรียนรู้ร่วมสมัยแยกออกไปเป็นอีกบทหนึ่ง เพื่อมิให้เนื้อหาในบทที่ 4 นี้มีความยาวมากเกินไป
1.ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 และการประยุกต์สู่การสอน ได้แก่
1.1 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)
1.2 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)
1.3ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการเรียนรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception หรือ Herbartianism)
                2. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 และการประยุกต์สู่การสอน ได้แก่
                2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
           ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Classical Connectionism)               
                                   ทฤษฎีเรียนรู้ สามารถสรุปกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้
                                   1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ด้วยดีถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
                                   2. กฎแห่งการฝึกหัด  (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำบ่อย ๆ ด้วยความใจให้เกิดการเรียนรู้นั้นคงทนถาวร
                                   3. กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
                                   4. กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of  Effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียน ดังนั้น การได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
                2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม หรืกกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitivism)
                      ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)

                ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ (Classical Conditioning) ของพาฟลอฟ (Pavlov)
                - พาฟลอฟ (Pavlov) สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (conditioned stimulus)
                ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน (Watson)
-          วัตสัน (Watson) พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคุมกันไปอย่างสม่ำเสมอ
2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanisn) และหลักการศึกษา/การสอน
                นักคิดกลุ่มมนุษยนิยม ให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลได้รับอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์นักจิตวิทยาที่สำคัญในกลุ่มนี้คือ มาสโลว์ (Maslow) รอเจอร์ส (Rogers) โคมส์  (Combs)
2.4  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน(Gagne)
                กานเย (Gagne) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมกับพุทธินิยม เขาอาศัยทฤษฎีและหลักการที่หลากหลาย เนื่องจากความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้งบางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง กานเย ได้จัดขั้นการเรียนรู้ซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธินิยมเข้าด้วยกัน
               

สรุป
                แต่เดิมนักปรัชญามักใช้วิธีการที่เรียกว่า “philosophical inquiry” ในการอธิบายและพิสูจน์ยืนยันความคิดเชิงปรัชญาของตน แต่ต่อมาเมื่อโลกมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น จึงได้นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพิสูจน์ ทดสอบ แนวความคิด ความเชื่อต่างๆ เป็นผลทำให้เกิดทฤษฎี และหลักการทางการศึกษาขึ้นจำนวนมาก ดังนั้น ทฤษฎี หลักการ แนวคิดต่างๆ จึงถือได้ว่าเป็นปรัชญาเช่นกัน แต่เป็นปรัชญาที่เรียกว่า “practical philosophy” หรือ ปรัชญาเชิงปฏิบัติการ ในบทนี้มีข้อเขียนได้ประมวลทฤษฎี หลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสอนให้ได้ศึกษากันโดยเริ่มตั้งแต่ช่วงก่อนคริสต์ศรรตวรรษที่ 20 ซึ่งเริมมีปราชญ์ที่มีแนวคิดว่าจิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) ของมนุษย์ สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึกให้เรียนรู้สิ่งยากๆเพื่อช่วยให้มีความแข็งแกร่งขึ้น นักคิดกลุ่มนี้ความเชื่อแตกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า ซึ่งได้แก่ ออกุสติน คาลวิน และโวล์ฟ  อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มที่เชื่อในความเป็นมนุษย์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม  ได้แก่ กลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์  ได้แก่  เพลโต  อริสโตเติล  กลุ่มที่เชื่อในการพัฒนาไปตามธรรมชาติ  ได้แก่  รุสโซ ฟรอเบล และเพสตาลอสซี และกลุ่มที่เชื่อในการรับรู้ และการเชื่อมโยงความคิด ได้แก่ ล็อก วุนด์ และเฮาบาร์ต
                จากนั้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงที่มีนักคิด นักจิตวิทยา และนักการศึกษาเกิดขึ้นจำนวนมาก โดยเริ่มตั้งแต่ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม ซึ่งประกอบด้วยทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์  ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟ วัตสัน สกินเนอร์ และฮัลล์  ต่อมานักจิตวิทยาและนักการศึกษา  เริ่มหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับกระบวนการทางความคิดหรือทางสมอง ในฐานะที่เป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดการเรียนรู้ทฤษฎีกลุ่มพุทธินิยม หรือปัญญานิยม จึงเกิดขึ้น ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ มี 5  ทฤษฎีด้วยกัน คือ ทฤษฎีเกสตัลท์ โดย เวอร์ไทม์เมอร์  โคเลอร์ และคอฟฟ์กา ทฤษฎีสนาม โดย เคิร์ท  เลวิน ทฤษฎีเครื่องหมายของทอลแมน และที่สำคัญคือ ทฤษฎีพัฒนาการทางสตืปัญญาของเพียเจต์และบรุนเนอร์ ซึ่งเป็นฐานสำคัญของทฤษฎีการเรียนรู้ที่นิยมกันในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล  ต่อมานักจิตวิทยา และนักการศึกษาเริ่มหันมาให้ความสนใจในเรื่องของจิตใจและความรู้สึกของมนุษย์ อันทำให้เกิดทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยมขึ้น นักทฤษฎีคนสำคัญนี้คือ มาสโลว์ รอเจอร์ส โคมส์ แฟร์ อิลลิช และนีล  เป็นต้น
                แม้ว่าแต่ละช่วงแต่ละสมัยจะมีทฤษฎีและแนวคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ แต่ในความเป็นจริง  แนวคิดเก่าๆ ก็มิได้สูญสิ้นไปโดยสิ้นเชิง ทฤษฎีแต่ละทฤษฎีต่างก็มีจุดเด่นและจุดอ่อนในตัวเอง  ดังนั้น จึงเกิดมีนักจิตวิทยาและนักการศึกษาที่เริ่มผสมผสานแนวคิดหลายแนวเข้าด้วยกัน ดังตัวอย่างการผสมผสานระหว่างแนวคิดทางด้านพฤติกรรมนิยมและปัญญานิยมของกานเย  เป็นต้น  ดังนั้นข้อมูลในบทนี้จึงช่วยให้ผู้ศึกษาได้มองเห็นวิวัฒนาการของทฤษฎีการเรียนรู้ทางซีกโลกตะวันตก ซึ่งจะเห็นว่าในแต่ละช่วงได้มีการพัฒนาในลักษณะเติมเต็มส่วนที่ยังบกพร่องหรือส่วนที่ยังขาดอยู่  จนกระทั่งทำให้ได้ข้อความรู้ที่สมบูรณ์ขึ้น  ทฤษฎีการเรียนรู้ นับเป็นรากฐานที่มาของหลักทางการสอน โดยการสอนได้นำข้อความรู้จากทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้บางทฤษฎีกล่าวเฉพาะการเรียนรู้โดยไม่ได้กล่าวถึงการสอน แต่ทฤษฎีการเรียนรู้บางทฤษฎี ได้ประยุกต์ความรู้สู่การสอนได้ด้วย  ดังนั้นทฤษฎีการเรียนรู้ใดที่ไม่ได้กล่าวถึงการสอน หรือกล่าวถึงแต่ไม่ชัดเจน ผู้เขียนจึงได้ทำหน้าที่ประยุกต์ข้อความรู้ทางการเรียนรู้ไปสู่การสอนให้ด้วยเพื่อช่วยให้ครู  อาจารย์  นิสิต นักศึกษา สมารถนำไปใช้ได้โดยสะดวก

ทิศนา  แขมมณี.2554.ศาสตร์การสอน:กรุงเทพมหานคร:สำนักงานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย